องค์ประกอบหลักของการแสดง

1.การรำ
โนราแต่ละตัวต้องรำอวดความชำนาญและความสามารถเฉพาะตน โดยการรำผสมท่าต่างๆ
เข้าด้วยกันอย่างต่อเนื่องกลมกลืน แต่ละท่ามีความถูกต้องตามแบบฉบับ
มีความคล่องแคล่วชำนาญที่จะเปลี่ยนลีลาให้เข้ากับจังหวะดนตรี
และต้องรำให้สวยงามอ่อนช้อยหรือกระฉับกระเฉงเหมาะแก่กรณี
บางคนอาจอวดความสามารถในเชิงรำเฉพาะด้าน เช่น การเล่นแขน การทำให้ตัวอ่อน
การรำท่าพลิกแพลง เป็นต้น
2.การร้อง
โนราแต่ละตัวจะต้องอวดลีลาการร้องขับบทกลอนในลักษณะต่างๆ เช่น
เสียงไพเราะดังชัดเจน จังหวะการร้องขับถูกต้องเร้าใจ มีปฏิภาณในการคิดกลอนรวดเร็ว
ได้เนื้อหาดี สัมผัสดี มีความสามารถในการร้องโต้ตอบ แก้คำอย่างฉับพลันและคมคาย
เป็นต้น
3.การทำบท
เป็นการอวดความสามารถในการตีความหมายของบทร้องเป็นท่ารำ
ให้คำร้องและท่ารำสัมพันธ์กันต้องตีท่าให้พิสดารหลากหลายและครบถ้วน
ตามคำร้องทุกถ้อยคำต้องขับบทร้องและตีท่ารำให้ประสมกลมกลืนกับจังหวะและลีลาของดนตรีอย่างเหมาะเหม็ง
การทำบทจึงเป็นศิลปะสุดยอดของโนรา
4.การรำเฉพาะอย่าง
นอกจากโนราแต่ละคนจะต้องมีความสามารถในการรำ การร้อง
และการทำบทดังกล่าวแล้วยังต้องฝึกการำเฉพาะอย่างให้เกิดความชำนาญเป็นพิเศษด้วยซึ่งการรำเฉพาะอย่างนี้
อาจใช้แสดงเฉพาะโอกาส เช่น รำในพิธีไหว้ครู หรือพิธีแต่งพอกผู้กผ้าใหญ่
บางอย่างใช้รำเฉพาะเมื่อมีการประชันโรง บางอย่างใช้ในโอกาสรำลงครูหรือโรงครู
หรือรำแก้บน เป็นต้น การรำเฉพาะอย่าง มีดังนี้
1.รำบทครูสอน
2.รำบทปฐม
3.รำเพลงทับเพลงโทน
4.รำเพลงปี่
5.รำเพลงโค
6.รำขอเทริด
7.รำเฆี่ยนพรายและเหยียบลูกนาว
(เหยียบมะนาว)
8.รำแทงเข้
9.รำคล้องหงส์
10.รำบทสิบสองหรือรำสิบสองบท
5.การเล่นเป็นเรื่อง
โดยปกติโนราไม่เน้นการเล่นเป็นเรื่อง แต่ถ้ามีเวลาแสดงมากพอหลังจากการอวดการรำการร้องและการทำลทแล้ว
อาจแถมการเล่นเป็นเรื่องให้ดู เพื่อความสนุกสนาน
โดยเลือกเรื่องที่รู้ดีกันแล้วบางตอนมาแสดงเลือกเอาแต่ตอนที่ต้องใช้ตัวแสดงน้อย ๆ
(2-3 คน) ไม่เน้นที่การแต่งตัวตามเรื่อง มักแต่งตามที่แต่งรำอยู่แล้ว แล้วสมมติเอาว่าใครเป็นใคร
แต่จะเน้นการตลกและการขับบทกลอนแบบโนราให้ได้เนื้อหาตามท้องเรื่อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น